[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

การส่งเสริมรู้หนังสือ 
 ภารกิจการการส่งเสริมรู้หนังสือ ซึ่งเป็นหนึ่งงานหลักของ กศน. ที่ได้เริ่มดำเนิน

การมา ตั้งแต่ก่อนเป็นกรมการศึกษานอกโรงเรียน จนถึงปัจจุบัน ภารกิจการรู้หนังสือของ กศน. ยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

การรู้หนังสือ มีนิยามที่แตกต่างกันเป็น 4 จำพวก (UNESCO 2006 : 148 หน้า)

การรู้หนังสือเป็นทักษะอัตโนมัติชุดหนึ่ง (literacy as an autonomous set of skills) จุดเน้นของความหมายนี้ คือ ทักษะการอ่าน ฟัง พูด เขียน และทักษะการคิดคำนวณ

การรู้หนังสือเป็นสิ่งที่ปฏิบัติและขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม (literacy as applied, practiced and situated) เป็นการมุ่งใช้ทักษะในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นที่มาของการรู้หนังสือแบบเบ็ดเสร็จ (functional literacy) แนวคิดนี้มองว่า การรู้หนังสือควรส่งผลต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ(และต่อมายังขยายไปถึงการพัฒนา ด้านอื่น ๆ เช่น บุคคล วัฒนธรรม และการเมือง) แนวคิดของการศึกษาแบบเบ็ดเสร็จมองการรู้หนังสือว่าสามารถจะสอนให้เกิดทักษะทั่วไปที่สามารถนำไปใช้ในทุกนทุกแห่งได้

การเรียนรู้เป็นกระบวนการเรียนรู้ (literacy as a learning process) การรู้หนังสือแนวคิดนี้เป็นอีกแนวคิดหนึ่งซึ่งเห็นว่า การรู้หนังสือไม่ใช่การรู้หนังสือแบบจำกัดตัวอยู่เฉพาะการจัดให้อ่านเขียนเท่านั้น แต่มองว่าประสบการณ์เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้ เปาโล แฟร (Paulo Freire) เห็นว่า การอ่านคำแต่ละเป็นไม่ใช่เป็นเพียงการออกสียงให้ถูกต้อง แต่เป็นการอ่านโลก (หรือสภาพแวดล้อม) ที่คำ ๆ นั้น ถูกนำมาใช้เป็นตัวแทน การอ่านคำ จึงเป็นการอ่านโลกซ้ำอีกครั้งหนึ่งนั่นเอง ( The reading of the word sends the reader back to the previous reading of the world, which is, in fact, a rereading.) (Paulo Freire. Pedagogy of the City, 1993)

การรู้หนังสือเป็นการอ่านตำรา (literacy as text) แนวคิดนี้มองว่า การรู้หนังสือเป็นการอ่านตำรา (Bhola, 1994) ตามทฤษฎีนี้ มีแนวคิดว่า แบบเรียนหรือวัสดุการอ่านที่ใช้ในโรงเรียน มีความสัมพันธ์กับชีวิตของผู้เรียนในปัจจุบันและอนาคต จึงควรศึกษาวิเคราะห์เรื่องราวที่อยู่ในหนังสือเหล่านั้น เพื่อทำความเข้าใจชีวิตในปัจจุบัน และอนาคตที่ผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วม

สำหรับประเทศไทย ได้ใช้นิยามการรู้หนังสือ ดังนี้

การอ่านออกเขียนได้ หมายถึง ความสามารถอ่านและเขียน(อ่านน้อย) ข้อความง่าย ๆ ภาษาใดภาษาหนึ่งได้ ถ้าอ่านออกอย่างเดียว แต่เขียนไม่ได้ถือว่าเป็นผู้อ่านเขียนไม่ได้ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานผลการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการอ่านออกเขียนได้ของประชากร พ.ศ. 2528)

การอ่านออกเขียนได้ หมายถึง ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป การอ่านออกเขียนได้นี้ จะเป็นภาษาใด ๆ ก็ได้ทั้งสิ้น โดยอ่านและเขียนข้อความง่าย ๆ ได้ ถ้าอ่านออกเพียงอย่างเดียว แต่เขียนไม่ได้ก็ถือว่าเป็นผู้ที่อ่านเขียนไม่ได้ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. รายงานการสำรวจการอ่านเขียนของประชากร พ.ศ.2537)

การอ่านออกเขียนได้ หมายถึง ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป การอ่านออกเขียนได้ จะเป็นภาษาใด ๆ ก็ตามทั้งสิ้น โดยอ่านและเขียนข้อความง่าย ๆ ได้ ถ้าอ่านออกเพียงอย่างเดียวแต่เขียนไม่ได้ ก็ถือว่าเป็นผู้ที่อ่านเขียนไม่ได้ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2543, 2545)

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

ส่งเสริมการรู้หนังสือสำหรับชาวไทย  แบบฝึกอ่านหนังสือไทย กศน. ได้ปรับปรุง เนื้อหาสาระของหนังสือไทย กศน.ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่  เช่น การแต่งกายและชื่อคน อาหารการกิน

 และอื่น ๆ โดย รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งน้ำ ใช้ชื่อหนังสือว่า แบบฝึกอ่านหนังสือไทย .พร้อมกันนี้ได้จัดทำแบบฝึกหัดคัดลายมือไทย 

         การสอนการรู้ภาษาไทยสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ควรมีวิธีการสอนที่แตกต่างจากกลุ่มผู้เรียนที่พูดภาษาไทยได้ตั้งแต่เกิด คือ ใช้ภาษาไทยตั้งแต่เกิดเรียกว่าพูดภาษาไทยเป็นภาษาแม่ในชีวิตประจำวัน แต่กลุ่ม เป้าหมายเฉพาะ เช่น ชุมชนบนพื้น

ที่สูง และกลุ่มแรงงานชาวมอญ ไม่ได้พูดภาษาไทยตั้งแต่เกิด เรียกว่า พูดภาษากะเหรี่ยง/

หนังสือส่งเสริมการรู้หนังสือภาษาไทย เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระง่าย ๆ แต่กระบวนการคิด ยกร่าง และจัดทำแบบฝึกหัดค่อนข้างยากมาก เพราะต้องเป็นเนื้อหาและระดับความยากง่ายที่เหมาะสมกับผู้เรียน รวมทั้งวิธีการสอนสำหรับกลุ่มเป้าหมายก็ต้องแตกต่างจากกลุ่มนักเรียนไทยที่พูดภาษาไทยตั้งแต่เกิด จึงขอนำเสนอเทคนิคการสอนผู้ไม่รู้หนังสือ 5 ขั้นตอน คือ

1.           สอนการฟังก่อน จุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถจดจำเสียงต้นแบบของครู

 ซึ่งครูจะออกเสียงชัดเจนและผู้เรียนจะรู้สึกคุ้นหูและสามารถจับเสียงหรือถ้อยคำที่พูดได้ ยกตัวอย่างชื่อที่ควรให้ผู้เรียนหัดฟังก่อน คือ ชื่อของครู และมารยาทต่าง ๆ เช่น สวัสดี ขอโทษ ขอบคุณ หรือสอนคำศัพท์พื้นฐานในชีวิตประจำวัน เช่น นั่ง ยืน เดิน หยุด วิ่ง สมุด ดินสอ หรือถ้าครูมีความสามารถก็อาจแต่งเป็นเพลง หรือนำเพลงเกี่ยวกับคำว่า สวัสดี ครูร้องให้ฟังก่อน ต่อมาจึงสอนให้พูด/ร้องเพลง

2. สอนฝึกหัดพูด ต้องให้เวลาแก่ผู้เรียนในการฟังเสียงต้นแบบจากครูมากพอ เพื่อให้เด็กสามารถเลียนแบบเสียงและสามารถเปล่งเสียงเป็นคำพูดออกมาได้ เช่น ชื่อครู มารยาทต่าง ๆ เช่น สวัสดี ขอบคุณ ขอโทษ ครูอาจนำเพลง/แต่งเพลงให้ผู้เรียนร้องตาม ทำให้ผู้เรียนจดจำคำพูดและสามารถเปล่งเสียงพูด/ร้องออกมาตามครูได้

3. สอนให้หัดอ่าน เป็นทักษะที่ค่อนข้างยาก ต้องค่อย ๆ ฝึกเป็นระบบ และเป็นขั้นตอน คือหนึ่ง แนะนำตัวอักษร/พยัญชนะก่อน 44 ตัวอักษร ไม่ต้องสอนวันเดียว แบ่งสอนวันละ 3-5 ตัว ดูที่ความพร้อมของผู้เรียน แล้วครูอ่านให้ฟังก่อน 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นให้ผู้เรียนอ่านพร้อมกับครูทั้งชั้นจนมั่นใจว่าเด็ก/ผู้ใหญ่สามารถอ่านได้ แล้วขออาสาสมัคร 2-3 คน ออกมาอ่านพร้อมกับครูหน้าห้อง 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นให้เด็ก/ผู้ใหญ่อ่านทีละคน อ่านจนครบ 44 ตัว ครูอาจใช้วิธีสอนแบบไม่เรียงตัวตั้งแต่ ก ถึง ฮ เพื่อทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจตัวอักษรจริง ๆ โดยใช้วิธีสุ่มแต่ละตัวอักษรเพื่อให้ผู้เรียนออกเสียง ถ้าผู้เรียนออกเสียงถูกต้องถือว่าผู้เรียนสามารถอ่านตัวอักษรได้

สอง แนะนำการอ่านเป็นคำ อาจใช้วิธีอ่านเป็นคำสอนก่อนก็ได้

 เช่น คำว่า นก งู หมู ปลา ไก่ เป็ด แล้วแยกสอนเป็นตัวพยัญชนะ ก็ได้ วิธีสอนชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ใหญ่

สาม แนะนำการอ่านเป็นประโยค และอ่านเป็นเรื่อง ตามลำดับ เพื่อฝึกทักษะใน

การอ่านเพิ่มขึ้น

สี่ ตามด้วยฝึกเขียน การเขียนควรสอนเมื่อผู้เรียนมีความพร้อมในการฟังพูดอ่านได้อย่างคล่องแคล่วก่อน จึงเริ่มสอนทักษะการเขียน เพราะทักษะการเขียนเป็นเรื่องยาก โดยเริ่มต้นฝึกเขียนจากพยัญชนะก่อน ตามด้วย สระ และวรรณยุกต์ หรือจะเริ่มฝึกเขียนจากคำก่อนอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ควรเริ่มฝึกเขียนจากคำก่อนเพราะผู้ใหญ่จะสนุกกับการเรียนรู้ความหมายด้วย ต่อจากนั้นก็สอนให้เขียนเป็นประโยค และเขียนเป็นเรื่องราว

ห้า สอนให้รู้จักคิดวิเคราะห์ การคิดวิเคราะห์เป็นหัวใจหลักของการรู้หนังสือ นั่นหมายถึง สามารถเข้าใจเรื่องราวที่ฟัง เรื่องราวที่พูด เรื่องราวที่อ่าน เรื่องราวที่เขียน ได้เป็นอย่างดีจึงสามารถเข้าใจความหมาย ของคำ จับใจความสำคัญของเรื่อง รู้จักถามรู้จักตอบ รู้จักวิเคราะห์/สังเคราะห์ รู้จักตีความหมายของเรื่อง และสามารถประเมินคุณค่าของเรื่องได้

โดยแท้จริงงานจัดการศึกษาสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ ยังมีอีกมากมายหลายพื้นที่ที่ต้องจัดการศึกษา แต่ถ้าหากจะกล่าวตามความเป็นจริงแล้ว ประเทศไทยยิ่งมีอัตราผู้รู้หนังสือมากขึ้นเท่าไหร่ ภารกิจงานที่จะส่งเสริมผู้ไม่รู้หนังสือก็นับวันจะยากเย็นแสนเข็ญเป็นลำดับ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มที่เข้าถึงยาก เช่น ชาวไทยภูเขา ชาวเล กลุ่มแรงงาน ฯลฯ แต่ถึงอย่างไร งานการส่งเสริมผู้ไม่รู้หนังสือเป็นภารกิจหลักที่ กศน.ให้ความสำคัญ และพยายามเข้าถึง และเพิ่มจำนวนผู้รู้หนังสือขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งปลอดผู้ไม่รู้หนังสือทีเดียว



เข้าชม : 577
 
 
กศน.ตำบลดอนยายหอม
 หมู่ 3 ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม  จังหวัดนครปฐม  73000

โทรสาร 087-1053779 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี