กระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ ภาวะที่กระดูกมีความแข็งแรงลดลง ส่งผลให้กระดูกแตกหักได้ง่ายกว่าปกติ แม้ได้รับแรงกระแทกเล็กๆน้อยๆก็อาจเกิดการแตกหักที่กระดูกได้ จึงเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดได้มากและอาจมีการกดทับเส้นประสาทได้ ซึ่งจะยิ่งทำให้มีอาการเจ็บมากขึ้นไปอีก ดังนั้น ทุกเพสทุกวัยควรดูแลกระดูกด้วยการรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอยู่เสมอ โดยเฉพาะวัย 50 ปีเป็นต้นไปที่ต้องการปริมาณแคลเซียมมากกว่าคนในวัยอื่นๆ และร่างกายมีประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลงเรื่อยๆ จึงต้องหมั่นเติมแคมเซียมให้ร่างกายอย่างเพียงพอ
นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ก็ควรรับประทานแคลเซียมวันละ 1,200 มิลลิกรัมด้วย เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายต้องการนำแคลเซียมไปใช้ในการสร้างน้ำนมมากขึ้นด้วย
วันนี้คุณได้รับ… แคลเซียมเพียงพอแล้วหรือยัง ?
มาเช็คกันก่อนว่าวัยของคุณ ต้องการ แคลเซียม มากแค่ไหน ?? เพราะคนแต่ละช่วงวัยมีความต้องการแคลเซียมในปริมาณที่ไม่เท่ากัน
- อายุตั้งแต่ 1 ถึง 30 ปี ต้องการแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลกรัม เพราะร่างกายยังสามารถดูดซึมแคลเซียมและเก็บสะสมไว้ได้ดีอยู่
- อายุ 30 ปีขึ้นไป ต้องการแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม ร่างกายในวัยนี้หยุดเก็บแคลเซียมแล้ว ดังนั้น เราต้องเติมแคลเซียมให้กับร่างกายอยู่ตลอดห้ามขาด
- อายุ 50 ปี (วัยทอง) ต้องการแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม
- อายุ 50 ปีขึ้นไปและคุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องการแคลเซียมวันละ 1,200 มิลลิกรัม
หลายๆคนอาจจะรู้จัก “แคลเซียม” ในฐานะของส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟันและจำเป็นต่อการคงสภาพปกติของกระดูกและฟัน แต่นอกจากจะเป็นสารที่จำเป็นต่อกระดูกและฟันแล้ว แคลเซียมยังมีประโยชน์อย่างมากต่อระบบอื่นๆในร่างกาย เช่น
- มีส่วนช่วยในการแข็งตัวตามปกติของเลือด
- มีส่วนช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานจากเมตาบอลิซึมตามปกติ
- มีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของกล้ามเนื้อ
- มีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของสารสื่อประสาท
- มีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของเอนไซม์ในระบบอ่อนอาหาร
สารที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียม
การรับประทานแคลเซียมนั้นจะดูดซึมได้ดีมากขึ้น หากรับประทานร่วมกับ “โบรอน” (Boron)
สารที่ลดการดูดซึมแคลเซียม
แอลกอฮอลล์ จะขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม ลดการกระตุ้นวิตามินดีที่ตับ และเร่งการขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะ
กาแฟ เพราะเครื่องดื่มที่มีสารกาเฟอีนจะขับแคลเซียมออกจากกระแสเลือด โดยกาแฟเพียง 1 แก้ว จะมีผลต่อการสูญเสียแคลเซียมถึง 2-3 มิลลิกรัม
น้ำอัดลม มีกรดฟอสฟอริกและกรดคาร์บอนิกที่ทำให้เกิดฟอง ทำให้เลือดเป็นกรด และส่งผลให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมในที่สุด
อาหารรสเค็มจัด เพราะจะทำให้ร่างกายเริ่มกำจัดเกลือออกทางปัสสาวะ ซึ่งจะเป็นการขับแคลเซียมออกไปจากร่างกายด้วย
ธัญพืชที่มีสารไฟเตตสูง จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม จึงไม่ควรรับประทานแคลเซียมพร้อมกับอาหารที่มีสารไฟเตตสูง
อาหารมีฟอสฟอรัสสูง เช่น ตับ เพราะเมื่อร่างกายต้องการจะรักาาสมดุลของฟอสฟอรัส ก็จะทำการขับแคลเซียมออก
ติดตามเคล็ดลับดีๆเกี่ยวกับสุขภาพและไลฟ์สไตล์ได้ที่ https://www.facebook.com/healthyclub.by.biopharm/
เข้าชม : 404
|