[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 


เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : บทความสุขภาพ
หัวข้อเรื่อง : ผัก ผลไม้ 5 สี ดีต่อสุขภาพยังไงบ้าง ??

พุธ ที่ 20 เดือน มกราคม พ.ศ.2564

คะแนน vote : 105  

 

ผัก ผลไม้ 5 สี

ดีต่อสุขภาพยังไง ??

 

สีแดง

สารที่พบในอาหารสีแดงหรือสีชมพู

  • ไลโคปีน (Lycopene) เป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ที่ให้สีแดงแก่มะเขือเทศ แตงโม ส้มโอแดง มะละกอ ดอกกระเจี๊ยบ สตรอเบอร์รี่ เชอร์รี่ เมล็ดทับทิม  หัวบีท ผลแก้วมังกร รวมถึงเนื้อสัตว์บางชนิด เช่น ปลาแซลมอน กุ้ง ปู
  • บีทาเลน (Betalain) คือ สารสีแดงและสีม่วงในหัวบีท ผลแก้วมังกร มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ

 

สีเหลืองและสีส้ม

สารที่พบในอาหารสีเหลืองและสีส้ม

  • เบต้าแคโรทีน (Beta carotene) เป็นเม็ดสีเหลือง สีแสดที่พบในพืชหลายชนิด เช่น แครอท มะละกอ มะกอก ลูกพลับ เป็นสารที่มีศักยภาพสูงในการต่อต้านอนุมูลอิสระ และเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการมองเห็นและยังช่วยให้ผิวพรรณสดใสอีกด้วย
  • ฟลาโวนอยด์ พบในเปลือกส้มและเยื่อส้ม หรือที่เรียกว่า “Citrus bioflavonoid” ออกฤทธิ์เสริมความแข็งแรงของหลอดเลือดฝอย
  • มอริน (Morin) เป็นฟลาโวนอยด์ที่พบในขนุน มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ต้ายไวรัสเริม (HSV-2) และลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
  • เอนไซม์โปรตีนโบรมีเลน (Bromelain) พบในสับปะรด เป็นเอนไซม์ย่อยโปรตีนที่ได้จากเนื้อและแกนของผลสับปะรด มีฤทธิ์ต้านการรวมตัวกันของเกล็ดเลือด ต้านการอักเสบ
  • ลูทีน (Lutein) เป็นสารสีเหลืองที่ให้สีสันแก่พืช และยังมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงสายตา ป้องกันความเสื่อมของ Macula ในดวงตา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งทีทำให้คนแก่ชราตาบอด

 

สีเขียว

สารที่พบในอาหารสีเขียว

  • คลอโรฟีลล์ เป็นสารที่ทำให้พืชมีสีเขียว ยิ่งมีสีเขียวเข้มมากแสดงว่ามีปริมาณคลอโรฟิลล์มาก เช่น ตำลึง คะน้า บร็อกโคลี่ ชะพลู ใบบัวบก ชะอม ผักบุ้ง ผักโขม ผลอะโวคาโด ขึ้นถ่าย แตงกวา ซึ่งเมื่อสารคลอโรฟิลล์ถูกย่อยในร่างกายแล้ว จะสามารถช่วยลดโอการสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้
  • ลูทีน (Lutein) เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ พบในผักใบเขียใเข้ม เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักโขม ผลอะโวคาโด ซึ่งมีประโยชน์ต่อดวงตา สามารถช่วยกรองแสงสำน้ำเงินที่มีพลังงานสูงได้
  • อินโดล-3-คาร์บินอล (I3C) พบในบร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ มีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งได้ และช่วยกำจัดสารพิษในร่างกายได้ดี
  • ซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) เป็นสารไทโอไซยาเนต พบในพืชวงศ์กะหล่ำปลีและพบมากในบร็อกโคลี่ มีฤืทธิ์กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ ขับสารพิษจากตับ

 

สีม่วงและสีน้ำเงิน

สารที่พบในอาหารสีม่วงและสีน้ำเงิน

  • แอนโทไซยานิน สีม่วงจากพืชตระกูลเบอร์รี่ สามารถช่วยเสริมประสิทธิภาพในการมองเห็น และลดปัญหาที่เกิดจากระบบหมุนเวียนโลหิตได้

 

สีขาว

สารที่พบในอาหารสีขาว

  • อัลลิซิน (Allicin) เป็นสารให้กลิ่นในกระเทียม ซึ่งกระเทียมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ ฆ่าเชื้อรา ป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ต้านการแข็งตัวของเลือด
  • เควอร์ซิทิน (Quercetin) เป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ พบมากในหอมหัวใหญ่ ผลแอปเปิ้ล ต้นกระทเียม ผลฝรั่ง และชาขาว มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการแข็งตัวและอุดตันของหลอดเลือด
  • ไอโซฟลาโวน (Isoflavone) พบในถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง มีฤทธิ์เป็นเอสโตรเจนอย่างอ่อน หรือที่เรียกว่า ไฟโตเอสโตรเจน
  • แซนโทน (Xanthone) พบในเนื้อสีขาวแะเปลือกมังคุด มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดอาการปวดข้อเข่า ต้านจุลชีพหลายชนิด เช่น เชื้อวัณโรค และรักษาระบบภูมิตุ้มกันให้อยู่ในสภาพที่ดี
  • เพกทิน เป็นเส้นใยละลายน้ำได้ พบในแอปเปิ้ล ฝรั่ง แก้วมังกร มีความสามารถในการจับกับน้ำตาลและปล่อยโมเลกุลน้ำตาลสู่กระแสเลือดอย่างช้าๆ ทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดค่อนข้างคงที่ จึงลดความอยากอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น

 

 

ติดตามเคล็ดลับดีๆเกี่ยวกับสุขภาพและไลฟ์สไตล์ได้ที่ https://www.facebook.com/healthyclub.by.biopharm/



เข้าชม : 857


บทความสุขภาพ 5 อันดับล่าสุด

      สมุนไพรที่ช่วยบรรเทาหวัด 26 / ธ.ค. / 2565
      5 วิธีแก้อาการปวดฟันด้วยตัวเอง 9 / พ.ย. / 2564
      รู้ทัน ป้องกันไว้ ไม่ให้หัวใจขาดเลือด 8 / ต.ค. / 2564
      8 แนวทางป้องกันโรคอัลไซเมอร์ 8 / ต.ค. / 2564
      กินเจวิถีใหม่ อิ่มใจ ได้สุขภาพ 8 / ต.ค. / 2564


 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม 
เลขที่ 179 หมู่ 2 ตำบลทุ่งกระพังโหม อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม  73140
  
โทรสาร 034-352039 , 034-282364  
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี