เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : บทความทั่วไป หัวข้อเรื่อง : 3 โรคฮิตหน้าร้อนที่คุณต้องระวัง
จันทร์ ที่ 8 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566
|
|
โรคลมแดด คือภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส เกิดจากการที่อยู่ในสถานที่ที่อุณหภูมิร้อนมากๆ และร่างกายไม่สามารถปรับตัวลดอุณหภูมิให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ส่งผลเสียต่อระบบประสาท หัวใจ และไต เป็นเหตุให้เสียชีวิตได้
ส่วนสาเหตุของโรคลมแดดนั้นมาจากการอยู่ในสถานที่ที่อากาศร้อนจัด โดยเฉพาะขณะที่อากาศร้อนชื้น หรือการออกกำลังกายอย่างหนัก โดยเฉพาะเมื่อออกกำลังกายในสถานที่ที่อากาศร้อน อาจมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เป็นโรคลมแดดได้ง่ายขึ้น เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าที่หนาเกินไปจะทำให้เหงื่อระบายได้ยาก การดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ ทานน้ำน้อย เป็นต้น
กลุ่มคนที่มีโอกาศเป็นโรคลมแดดได้มากกว่าผู้อื่นอาทิ เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ (อายุเกิน 65 ปี) มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ช้า หากพบผู้ป่วยควรรีบพาหลบแดด ย้ายมาอยู่ในที่ร่ม ถอดเสื้อคลุมที่ไม่จำเป็นออก ทำให้ร่างกายเย็นด้วยวิธีต่างๆ เช่น รดตัวด้วยน้ำเย็น เช็ดตัวด้วยน้ำเย็นโดยเฉพาะที่บริเวณหลังคอ ข้อพับ และขาหนีบ เป่าพัดลมที่มีไอน้ำเย็น เปิดแอร์ ดื่มน้ำ และน้ำเกลือแร่ให้มากๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ และป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียเกลือแร่
โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานเชื้อโรคหรือสารพิษของเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารเข้าไปในร่างกาย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไป โรคอาหารเป็นพิษอาจเกิดขึ้นทีละหลายๆ คน โดยการกินอาหารปนเปื้อนชนิดเดียวกัน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับอาหารปิกนิก อาหารที่ไม่ได้เก็บแช่ไว้ในตู้เย็น อาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านาน ๆ โดยไม่มีการแช่เย็น หรืออุ่นให้ร้อนอยู่เสมอ อาหารที่เตรียมขึ้นอย่างไม่สะอาด บางครั้งพบในอาหารที่ปรุงไม่สุก เด็กและคนชรามีโอกาสเสี่ยงสูง อาการของโรคอาหารเป็นพิษมักเกิดขึ้นภายใน 2-6 ชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหารปนเปื้อนเชื้อหรือสารพิษของเชื้อ อาการที่พบ คือ มีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย บางครั้งอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ถ้าถ่ายอุจจาระมากจะเกิดอาการขาดน้ำและสารเกลือแร่ในร่างกาย ร่างกายอ่อนเพลีย ทางป้องกัน คือ ควรทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่ทานอาหาร ที่เก็บไว้ค้างคืนนานๆ เพื่อป้องกันการรับเชื้อโรคโดยไม่จำเป็น
โรคผิวหนัง, ผิวไหม้แดด หรือ Sun Burn เกิดจากการอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน โดยอาการไหม้แดดจะเกิดเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับสีผิวของแต่ละคน ถ้ายิ่งขาวมากเท่าไร ผิวจะยิ่งไหม้เร็วเท่านั้น และอาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ บวม แดง ร้อน และอาการปวดแสบปวดร้อน นอกจากนี้อาจมีอาการคันร่วมด้วย วิธีการรักษาควรหลีกเลี่ยงการออกแดด ทาครีมกันแดด ครีมให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ครีมเคลือบผิวเพื่อลดการสูญเสียน้ำของผิวหนัง และทาพวกแอนตี้ฮีสตามีน เพื่อลดอาการคัน และสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม ป้องกันแดด หลีกเลี่ยงการขัดถู และงดใช้สารต่างๆ ที่ทำให้ผิวหนังแห้ง เช่น สบู่ ตรงบริเวณที่เป็นผิวไหม้ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือเป็นมากๆ ควรรีบพบแพทย์ทันที
ขอบคุณที่มา : Bangkokhospital
เข้าชม : 390
|
|
บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด
ลำไส้ใหญ่อักเสบ... 6 / มิ.ย. / 2567
10 คุณประโยชน์ของน้ำเปล่า 6 / มิ.ย. / 2567
กิน \"ไข่\" กันเถอะ 6 / มิ.ย. / 2567
จอประสาทตาเสื่อม สูงวัยทำอย่างไร ? 23 / ก.พ. / 2567
ทอนซิลอักเสบ อาการ เจ็บคอ ที่ต้องระวัง ! 23 / ก.พ. / 2567
|