[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 


เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : บทความสุขภาพ
หัวข้อเรื่อง : กินยาถูกเวลา เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา

ศุกร์ ที่ 29 เดือน มกราคม พ.ศ.2564

คะแนน vote : 133  

 
   ยาแต่ละชนิดมีข้อกำหนดในการกินทีแตกต่างกัน บางชนิดกินก่อนอาหาร บางชนิดกินหลังอาหาร หลังอาหารทันที หรือบางชนิดต้องกินพร้อมอาหาร หรือกินก่อนนอน ก็มี ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา นอกจากข้อกำหนดในการกินยาแต่ละชนิดแล้ว เวลาในการกินยาก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการรักษา เช่น ยาป้องกันอาการหัวใจวาย หรือเส้นเลือดสมองตีบ ควรกินตอนตื่นนอน เป็นต้น
       โรคกระดูกพรุน ยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุนส่วนมากคือ ยาบิสฟอสโฟเนต ซึ่งป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก ยาตัวนี้ดูดซึมได้ยาก ละลายในน้ำมันและไขมันไม่ดีนัก จึงควรกินพร้อมน้ำทันทีที่ตื่นนอนขณะกระเพาะยังว่าง และงดอาหารในตอนกลางคืน แล้วรอประมาณหนึ่งชั่วโมงจึงค่อยกินหรือดื่ม
       ความดันโลหิตสูง มีงานวิจัยระบุว่า การกินยาความดันโลหิตสูงในตอนกลางคืน จะควบคุมความดันได้ดีกว่า และลดความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวายและเส้นเลือดสมองตีบ โดยปกติในคนที่มีสุขภาพดี ความดันโลหิตในตอนกลางคืนจะลดลง ๑๐ – ๒๐ เปอร์เซ็นต์ คนที่ความดันไม่ลดลงมีแนวโน้มจะเกิดอาการหัวใจวาย และเส้นเลือดสมองแตก จากการศึกษาคนไข้ ชายหญิง ๒,๑๕๖ ราย ซึ่งมีความดันโลหิตสูง คนที่กินยาลดความดันในตอนกลางคืนมีความเสี่ยงลดลง ๓๓% ต่ออาการปวดรุนแรงเส้นเลือดสมองแตกและหัวใจวาย เมื่อเทียบกับคนที่กินยาความดันในตอนเช้า อย่างไรก็ตามผู้ที่กินยาในตอนเช้า ไม่ควรเปลี่ยนมากินยาตอนกลางคืนโดยไม่ปรึกษาแพทย์
      โรคข้ออักเสบ คนไข้โรคข้ออักเสบมีอาการปวดมากที่สุดในช่วงบ่าย เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการกินยาแก้อักเสบที่ไม่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน คือ เวลาเที่ยงวันถึงบ่ายสามโมง เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ในช่วงที่มีอาการมากที่สุด นักวิจัยยังพบอีกว่า คนไข้ไขข้ออักเสบรูมาตอยด์มักรู้สึกปวดมากที่สุดในช่วงเช้า ดังนั้นการกินยาแก้ปวด หลังอาหารค่ำจะได้ผลที่สุดในการป้องกันไม่ให้อาการปวดเริ่มสั่งสมในตอนกลางคืน
      คอเรสเตอรอล มีข้อแนะนำให้กินยาลดคอเรสเตอรอลในตอนเข้านอนแทนตอนเช้า ผลวิจัยของมหาวิทยาลัยวันเดอร์แลนด์ พบว่า เมื่อคนไข้กินยาซิมวาสตาติน ซึ่งเป็นยาในกลุ่มสตาติน เปลี่ยนเวลาจากตอนค่ำมาเป็นตอนเช้า ปรากฏว่า คอเรสเตอรอลชนิดเลว คือ แอลดีแอลเพิ่มขึ้นมาก และยังพบว่าการกินยาสตาตินอีกตัวหนึ่ง คือ เอทอร์วาสตาตินในตอนที่ให้ผลดีกว่าในตอนเช้าช่วยลดอาการเกิดหัวใจวาย เส้นเลือดอุดตันและมีคอเรสเตอรอลชนิดดีมากขึ้น
     โรคหัวใจ อาการหัวใจวายและเส้นเลือดในสมองแตกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ๓ เท่าที่จะเกิดขึ้นในช่วงเช้ามากกว่าช่วงเวลาอื่น งานวิจัยของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคส เวสเทิร์นรีเสิร์ฟ ในมลรัฐโอไฮโอ ได้พบโปรตีนชื่อ เคแอลเอฟ ๑๕ ซึ่งควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ พบว่า ระดับของโปรตีนชนิดนี้จะขึ้นลงในรอบ ๒๔ ชั่วโมง คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะเต้นช้าที่สุดใน ๖ ชั่วโมงหลังเที่ยง และเมื่อช่วงระหว่างการเต้นแต่ละครั้งช้าลง ทำให้มีแนวโน้มมากขึ้นที่หัวใจจะเต้นผิดจังหวัด เกิดการลัดวงจรซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวาย นั่นหมายถึงเวลาที่ดีที่สุดในการกินยาหัวใจ คือ ตอนที่ตื่นนอน
      ยาทุกชนิด มีผลในการรักษา และจะเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น หากกินตามข้อกำหนดและถูกเวลา
 
 
เรียบเรียงโดย ธนัชพร ถ้ำสิงห์
ส่วนการประชาสัมพันธ์ สำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์
 


เข้าชม : 507


บทความสุขภาพ 5 อันดับล่าสุด

      สมุนไพรที่ช่วยบรรเทาหวัด 26 / ธ.ค. / 2565
      5 วิธีแก้อาการปวดฟันด้วยตัวเอง 9 / พ.ย. / 2564
      รู้ทัน ป้องกันไว้ ไม่ให้หัวใจขาดเลือด 8 / ต.ค. / 2564
      8 แนวทางป้องกันโรคอัลไซเมอร์ 8 / ต.ค. / 2564
      กินเจวิถีใหม่ อิ่มใจ ได้สุขภาพ 8 / ต.ค. / 2564


 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม 
เลขที่ 179 หมู่ 2 ตำบลทุ่งกระพังโหม อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม  73140
  
โทรสาร 034-352039 , 034-282364  
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี