บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล
กศน. ตําบล มีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีหัวหน้า กศน. ตำบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน กศน. ตำบล ดังนี้
1. บทบาทหน้าที่ของหัวหน้า กศน. ตำบล
1. การวางแผน
1.1 จัดทําฐานข้อมูลชุมชน
1.2 จัดทําแผนพัฒนา กศน. ตําบล
1.3 จัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี
2. การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
2.1.จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ดังนี้
- การส่งเสริมการรู้หนังสือ
- การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การศึกษาต่อเนื่อง
2.2.จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย
- ส่งเสริมการอ่าน
- จัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้
- บริการข่าวสารข้อมูล และสื่อทุกประเภท
- จัดและส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดประชาชนตำบล ห้องสมุดชุมชน มุมหนังสือบ้าน
3. บริการการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย
3.1 ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) ร่วมกับ (สอศ.)
3.2 ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ (สคบ.)
3.3 ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ร่วมกับ (กระทรวงไอซีที)
3.4 มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต ร่วมกับ (สสวท.)
3.5 หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ร่วมกับโรงพยาบาล สถานีอนามัย
3.6 ธนาคารเคลื่อนที่
3.7 การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
3.8 อำเภอเคลื่อนที่ ร่วมกับอำเภอ
4.สร้างและพัฒนาภาคีเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน โดยการประสานขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายองค์กรชุมชนผู้รู้ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อร่วมเป็นอาสาสมัคร กศน. อาสามสมัครส่งเสริมการอ่านเป็นต้น
5.ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่แผนงาน โครงการ กิจกรรมและผลการดำเนินของ กศน.ตำบลในรูปแบบต่างๆ
6.รายงานผลการปฎิบัติงาน
6.1 รายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามแผนแบบและระยะเวลาที่กำหนด
6.2 รายงานผลการปฎิบัติงานประจำตำบลของ กศน.ตำบล
แนวทางการดำเนินงานของ กศน. ตำบล
กศน.ตำบลมีการปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่ ตลอดจนรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนมากขึ้น ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่
1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ เป็นศูนย์กลางการส่งเสริม จัดกระบวนการการเรียนรู้ และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงภายในชุมชน ดำเนินงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาจักร (กอ.รมน.)
2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) เพื่อสร้างการเรียรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตยบูรณาการความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ซึ่งบริหารจัดการฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ กศน. และชุมชนเพื่อให้มีความรู้และรับรู้ที่เท่าทันปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิจิทัล
4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย กศน.ตำบลมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก
ภารกิจ ครู กศน.ตำบล
1. ด้านการจัดการศึกษาและการเรียนรู้
1.1 การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1) สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่ปฐมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยดำเนินการให้ผู้เรียนได้รับการสนับสนุนค่าจัดซื้อหนังสือเรียน ค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ
ค่าจัดการเรียนการสอนอย่างทั่วถึงและเพียงพอ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
2) จัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้ด้อย พลาด และขาด
โอกาสทางการศึกษา ทั้งระบบการให้บริการ ระบบการเรียนการสอน ระบบการวัดและประเมินผลการเรียน ผ่านการเรียนแบบเรียนรู้ด้วยตนเอง การพบกลุ่ม การเรียนแบบชั้นเรียน และการจัดการศึกษาทางไกล
3) จัดให้มีการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษา และการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์
ที่มีความโปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กำหนด และสามารถตอบสนองความต้องการของ
กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) จัดให้มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีคุณภาพที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้และเข้าร่วมปฏิบัติ
กิจกรรม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจบหลักสูตร อาทิ กิจกรรมเสริมสร้างความสามัคคี กิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด กิจกรรมจิตอาสา และการจัดตั้งชมรม/ชุมนุม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนนำกิจกรรมการบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ นอกหลักสูตร มาใช้เพิ่มชั่วโมงกิจกรรมให้ผู้เรียนจบตามหลักสูตรได้
1.2 การส่งเสริมการรู้หนังสือ
1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือ โดยเฉพาะในเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนใต้ ให้มี
ความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัยและเป็นระบบเดียวกันทั้งส่วนกลางและพื้นที่
2) พัฒนาหลักสูตร สื่อ แบบเรียนเครื่องมือวัดผลและเครื่องมือการดำเนินงานการส่งเสริมการรู้หนังสือที่สอดคล้องกับสภาพแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
3) พัฒนาครู กศน.และภาคีเครือข่ายร่วมจัด ให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะกระบวนการ
เรียนรู้ให้กับผู้ไม่รู้หนังสืออย่างมีประสิทธิภาพ และอาจจัดให้มีอาสาสมัครการรู้หนังสือในพื้นที่ที่มีความต้องการจำเป็นเป็นพิเศษ
4) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคงสภาพการรู้หนังสือ
การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือให้กับประชาชนเพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของประชาชน
1.3 การศึกษาต่อเนื่อง
1) จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพ
เพื่อการมีงานทำ และอาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนและศักยภาพของแต่ละพื้นที่
2) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของแต่ละคนบุคคล และมุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีทักษะการดำรงชีวิตตลอดจนสามารถประกอบอาชีพพึ่งพาตนเองได้ มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยจัดกิจกรรมการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ค่ายพัฒนาทักษะชีวิต การจัดตั้งชมรม/ชุมนุม การส่งเสริมความสามารถพิเศษต่าง ๆ
3) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน โดยใช้หลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ
บูรณาการในรูปแบบของการฝึกอบรม การเรียนทางไกล การประชุม สัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดกิจกรรมจิตอาสา การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ และรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และบริบทของชุมชนแต่ละพื้นที่ โดยเน้นการสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองดี การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในชุมชน การบำเพ็ญประโยชน์ การขับเคลื่อนการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน การ
บริหารจัดการน้ำ การรับมือกับสาธารณภัย การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน การอนุรักษ์พลังงาน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.4 การศึกษาตามอัธยาศัย
1) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในระดับตำบล เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ และจัด
กิจกรรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในชุมชนได้อย่างทั่วถึง
2) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และพัฒนาความสามารถ
ในการอ่านและศักยภาพการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
3) ส่งเสริมให้มีการสร้างบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
โดยสนับสนุนการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เช่น พัฒนาห้องสมุดประชาชนทุกแห่งให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน ส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน การสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่หลากหลายออกให้บริการประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง สม่ำเสมอ รวมทั้งเสริมสร้างความพร้อมในด้านสื่ออุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการอ่านและการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างหลากหลาย
4) จัดสร้างและพัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตลอด
ชีวิตของประชาชนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำท้องถิ่น โดยจัดสร้างและพัฒนานิทรรศการ พัฒนาสื่อที่สร้างแรงบันดาลใจสูง และจัดกิจกรรมการศึกษาที่เน้นการเสริมสร้างความรู้ สอดแทรกวิธีการคิดแบบวิทยาศาสตร์การฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และปลูกฝังเจตคติทางวิทยาศาสตร์ โดยบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บริบทของของชุมชน ประเทศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ มีความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ มีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21 มีความสามารถในการปรับตัวรองรับการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต การพัฒนาอาชีพ การรักษาสิ่งแวดล้อม การบรรเทาและป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ
2. ด้านหลักสูตร สื่อ รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล งานบริการทาง
วิชาการ และการประกันคุณภาพการศึกษา
2.1 ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเพื่อส่งเสริม
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่หลากหลาย ทันสมัย รวมทั้งหลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับ
สภาพบริบทของพื้นที่ และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน
2.2 พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลให้มีความทันสมัยด้วยระบบห้องเรียนและการควบคุม
การสอบออนไลน์
2.3 พัฒนาระบบการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษา และการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์
ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.4 ส่งเสริมการพัฒนาสื่อแบบเรียน สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่ออื่นๆ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ของผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
2.5 พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลการศึกษานอกระบบทุกหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตรใน
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน โดยการน าแบบทดสอบกลาง และระบบการสอบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Exam) มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัย พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัด
และประเมินผล และเผยแพร่รูปแบบการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้มีการน าไปสู่การปฏิบัติอย่างกว้างขวางและมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทอย่างต่อเนื่อง
2.7 พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้ได้มาตรฐาน เพื่อพร้อมรับการประเมิน
คุณภาพภายนอก โดยพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการประกัน
คุณภาพ และสามารถดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้การประเมินภายในด้วยตนเอง และจัดให้มีระบบสถานศึกษาพี่เลี้ยงเข้าไปสนับสนุนอย่างใกล้ชิด สำหรับสถานศึกษาที่ยังไม่ได้เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอก ให้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
3. ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
3.1 ผลิตและพัฒนารายการวิทยุและรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาให้เชื่อมโยงและตอบสนองต่อ
การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาเพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ให้มีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีคุณภาพ สามารถพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร เช่น รายการพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำรายการติวเข้มเติมเต็มความรู้ ฯลฯ เผยแพร่ทางสถานีวิทยุศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV)และทางอินเทอร์เน็ต
3.2 พัฒนาช่องทางการเผยแพร่การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เข้าชม : 1957 |