การปลูกในวัสดุปลูก (Substrate culture)
เป็นการปลูกในลักษณะที่คล้ายกับการปลูกพืชบนดินมากที่สุดการดูแลรักษา จึงคล้ายกับการปลูกพืชในกระถาง แต่ใช้วัสดุปลูกอื่นแทนดินเพื่อให้รากพยุงลำต้นอยู่ได้ การปลูกในวัสดุปลูกปริมาณของวัสดุปลูกจะน้อยกว่าดินมาก คือรากพืชจะมีพื้นที่ในการหาน้ำและอาหารไม่เกิน 5 ลิตรต่อต้น ดังนั้นการจัดการเกี่ยวกับน้ำและธาตุอาหารจะต้องดูแลเป็นพิเศษต้องควบคุมปริมาณน้ำในวัสดุปลูกให้เหมาะสม โดยนอกจากใช้วัสดุปลูกที่มีการระบายน้ำดี อุ้มน้ำได้น้อย มีอัตราส่วนระหว่างน้ำและอากาศที่เหมาะสมแล้ว ยังต้องควบคุม
การให้สารละลาย ต้องระวังไม่ปล่อยให้วัสดุปลูกแห้งจนไม่มีความชื้นเหลืออยู่ เพราะ ถ้าแห้งถึงระดับหนึ่งรากอาจไม่สามารถ
กลับสู่สภาพเดิมได้ ทำให้เกิดความเสียหายได้ วิธีที่เหมาะสมคือ ให้ครั้งละน้อยๆ แต่ให้บ่อยๆ เหตุนี้เอง ระบบควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติจึงเป็นสิ่งจำเป็น สูตรและความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารจะต้องเหมาะสมกับชนิดพืช ช่วงการเจริญเติบโต และสภาพภูมิอากาศก่อนปลูกควรปรับ pH ของวัสดุปลูกให้อยู่ในช่วง 5.5-6.0โดยใช้สารละลาย
กรดไนตริกเจือจาง ข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่งคือต้องเก็บเศษรากพืชที่เหลือออกจากวัสดุปลูกให้หมดเมื่อต้องเริ่มปลูกพืชครั้งใหม่
ข้อดีของการปลูกพืชไร้ดิน
- พืชเจริญเติบโตเร็ว ผลผลิตสูง สามารถผลิตนอกฤดูกาลได้
- ปลูกพืชได้ในเขตที่ดินมีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินลูกรัง ดินกรวด
- ลดการสูญเสียธาตุอาหาร
- ใช้แรงงานในการดูแลรักษาน้อย
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีป้องกัน โรคและแมลงศัตรูพืช
- ได้ผลผลิตสะอาด
ข้อจำกัดของการปลูกพืชไร้ดิน
- ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มแรกสูงกว่าการปลูกพืชปกติ
- ผู้ปฏิบัติต้องมีความรู้ความเข้าใจ
- การดูแลรักษาต้องทำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ เรื่องของความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหาร ค่า pH และ
ปริมาณออกซิเจน
- กรณีเกดโรคระบาดจะเกิดได้อย่างรวดเร็ว
เข้าชม : 609
|