[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 
 

บทบาทหน้าที่ภาระกิจ กศน.ตำบล

กศน. ตําบล มีบทบาทสำคัญในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน โดยมีหัวหน้า กศน. ตำบล เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน กศน. ตำบล ดังนี้

           1. บทบาทหน้าที่ของหัวหน้า กศน. ตำบล

               1. การวางแผน

                       1.1 จัดทําฐานข้อมูลชุมชน

                       1.2 จัดทําแผนพัฒนา กศน. ตําบล

                       1.3 จัดทําแผนปฏิบัติการประจําปี

           2. การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

               2.1 จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ ดังนี้

                       - การส่งเสริมการรู้หนังสือ

                       - การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                       - การศึกษาต่อเนื่อง

                2.2 จัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย

                       - ส่งเสริมการอ่าน

                       - จัดและพัฒนาแหล่งเรียนรู้

                       - บริการข่าวสารข้อมูล และสื่อทุกประเภท

                       - จัดและส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดประชาชนตำบล ห้องสมุดชุมชน มุมหนังสือบ้าน

           3. บริการการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย

                                3.1  ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it Center) ร่วมกับ (สอศ.)

                   3.2  ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ (สคบ.)

                   3.3  ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน ร่วมกับ (กระทรวงไอซีที)

                   3.4  มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต ร่วมกับ (สสวท.)

                   3.5  หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ร่วมกับโรงพยาบาล สถานีอนามัย

                   3.6  ธนาคารเคลื่อนที่

                   3.7  การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย

                   3.8  อำเภอเคลื่อนที่ ร่วมกับอำเภอ

             4. สร้างและพัฒนาภาคีเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน โดยการประสานขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายองค์กรชุมชนผู้รู้ ผู้ทรงคุณวุฒิ  ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อร่วมเป็นอาสาสมัคร กศน. อาสามสมัครส่งเสริมการอ่านเป็นต้น

          5. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่แผนงาน โครงการ กิจกรรมและผลการดำเนินของ กศน.ตำบลในรูปแบบต่างๆ

          6. รายงานผลการปฏิบัติงาน

          6.1 รายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามแผนแบบและระยะเวลาที่กำหนด

          6.2 รายงานผลการปฏิบัติงานประจำตำบลของ กศน.ตำบล

แนวทางการดำเนินงานของ กศน. ตำบล                                   

        กศน.ตำบลจะมีการปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่ ตลอดจนรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนมากขึ้น ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่       

        1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่  เป็นศูนย์กลางการส่งเสริม จัดกระบวนการการเรียนรู้ และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ      เพียงภายในชุมชน ดำเนินงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาจักร (กอ.รมน.)

        2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.)  เพื่อสร้างการเรียรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตยบูรณาการความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

        3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน  ซึ่งบริหารจัดการฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ กศน. และชุมชนเพื่อให้มีความรู้และรับรู้ที่เท่าทันปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิจิทัล

        4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย กศน.ตำบลมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก 

1. ด้านการจัดการศึกษาและการเรียนรู้

1.1 การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1) สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่ปฐมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โดยดำเนินการให้ผู้เรียนได้รับการสนับสนุนค่าจัดซื้อหนังสือเรียน ค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ

ค่าจัดการเรียนการสอนอย่างทั่วถึงและเพียงพอ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

2) จัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้ด้อย พลาด และขาด

โอกาสทางการศึกษา ทั้งระบบการให้บริการ ระบบการเรียนการสอน ระบบการวัดและประเมินผลการเรียน ผ่านการเรียนแบบเรียนรู้ด้วยตนเอง การพบกลุ่ม การเรียนแบบชั้นเรียน และการจัดการศึกษาทางไกล

3) จัดให้มีการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษา และการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์

ที่มีความโปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กำหนด และสามารถตอบสนองความต้องการของ

กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4) จัดให้มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีคุณภาพที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้และเข้าร่วมปฏิบัติ

กิจกรรม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจบหลักสูตร อาทิ กิจกรรมเสริมสร้างความสามัคคี กิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด กิจกรรมจิตอาสา และการจัดตั้งชมรม/ชุมนุม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนนำกิจกรรมการบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ นอกหลักสูตร มาใช้เพิ่มชั่วโมงกิจกรรมให้ผู้เรียนจบตามหลักสูตรได้

1.2 การส่งเสริมการรู้หนังสือ

1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือ โดยเฉพาะในเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนใต้ ให้มี

ความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัยและเป็นระบบเดียวกันทั้งส่วนกลางและพื้นที่

2) พัฒนาหลักสูตร สื่อ แบบเรียนเครื่องมือวัดผลและเครื่องมือการดำเนินงานการส่งเสริมการรู้หนังสือที่สอดคล้องกับสภาพแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

3) พัฒนาครู กศน.และภาคีเครือข่ายร่วมจัด ให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะกระบวนการ

เรียนรู้ให้กับผู้ไม่รู้หนังสืออย่างมีประสิทธิภาพ และอาจจัดให้มีอาสาสมัครการรู้หนังสือในพื้นที่ที่มีความต้องการจำเป็นเป็นพิเศษ

4) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคงสภาพการรู้หนังสือ

การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือให้กับประชาชนเพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของประชาชน

1.3 การศึกษาต่อเนื่อง

1) จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพ

เพื่อการมีงานทำ และอาชีพที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนและศักยภาพของแต่ละพื้นที่

2) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของแต่ละคนบุคคล และมุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีทักษะการดำรงชีวิตตลอดจนสามารถประกอบอาชีพพึ่งพาตนเองได้ มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยจัดกิจกรรมการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ค่ายพัฒนาทักษะชีวิต การจัดตั้งชมรม/ชุมนุม การส่งเสริมความสามารถพิเศษต่าง ๆ

3) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน โดยใช้หลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ

บูรณาการในรูปแบบของการฝึกอบรม การเรียนทางไกล การประชุม สัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดกิจกรรมจิตอาสา การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ และรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และบริบทของชุมชนแต่ละพื้นที่ โดยเน้นการสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองดี การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในชุมชน การบำเพ็ญประโยชน์ การขับเคลื่อนการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน การบริหารจัดการน้ำ การรับมือกับสาธารณภัย การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน การอนุรักษ์พลังงาน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.4 การศึกษาตามอัธยาศัย

1) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในระดับตำบล เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ และจัด

กิจกรรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในชุมชนได้อย่างทั่วถึง

2) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และพัฒนาความสามารถ

ในการอ่านและศักยภาพการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย

3) ส่งเสริมให้มีการสร้างบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

โดยสนับสนุนการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เช่น พัฒนาห้องสมุดประชาชนทุกแห่งให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน ส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน การสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่หลากหลายออกให้บริการประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง สม่ำเสมอ รวมทั้งเสริมสร้างความพร้อมในด้านสื่ออุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการอ่านและการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างหลากหลาย

4) จัดสร้างและพัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตลอด

ชีวิตของประชาชนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำท้องถิ่น โดยจัดสร้างและพัฒนานิทรรศการ พัฒนาสื่อที่สร้างแรงบันดาลใจสูง และจัดกิจกรรมการศึกษาที่เน้นการเสริมสร้างความรู้ สอดแทรกวิธีการคิดแบบวิทยาศาสตร์การฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และปลูกฝังเจตคติทางวิทยาศาสตร์ โดยบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บริบทของของชุมชน ประเทศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ มีความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ มีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21 มีความสามารถในการปรับตัวรองรับการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต การพัฒนาอาชีพ การรักษาสิ่งแวดล้อม การบรรเทาและป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ

2. ด้านหลักสูตร สื่อ รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล งานบริการทาง

วิชาการ และการประกันคุณภาพการศึกษา

2.1 ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเพื่อส่งเสริม

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่หลากหลาย ทันสมัย รวมทั้งหลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับ

สภาพบริบทของพื้นที่ และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน

2.2 พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลให้มีความทันสมัยด้วยระบบห้องเรียนและการควบคุม

การสอบออนไลน์

2.3 พัฒนาระบบการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษา และการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์

ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.4 ส่งเสริมการพัฒนาสื่อแบบเรียน สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่ออื่นๆ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

ของผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายพิเศษ

2.5 พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลการศึกษานอกระบบทุกหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตรใน

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน โดยการน าแบบทดสอบกลาง และระบบการสอบอิเล็กทรอนิกส์

(e-Exam) มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.6 ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัย พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัด

และประเมินผล และเผยแพร่รูปแบบการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้มีการน าไปสู่การปฏิบัติอย่างกว้างขวางและมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทอย่างต่อเนื่อง

2.7 พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้ได้มาตรฐาน เพื่อพร้อมรับการประเมิน

คุณภาพภายนอก โดยพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการประกัน

คุณภาพ และสามารถดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้การประเมินภายในด้วยตนเอง และจัดให้มีระบบสถานศึกษาพี่เลี้ยงเข้าไปสนับสนุนอย่างใกล้ชิด สำหรับสถานศึกษาที่ยังไม่ได้เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอก ให้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด

3. ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

3.1 ผลิตและพัฒนารายการวิทยุและรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาให้เชื่อมโยงและตอบสนองต่อ

การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาเพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ให้มีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีคุณภาพ สามารถพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร เช่น รายการพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำรายการติวเข้มเติมเต็มความรู้ ฯลฯ เผยแพร่ทางสถานีวิทยุศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV)และทางอินเทอร์เน็ต

3.2 พัฒนาช่องทางการเผยแพร่การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบออนไลน์ เพื่อส่งเสริมให้ครู กศน. นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Do It Yourself : DIY)

3.3 พัฒนาสถานีวิทยุศึกษา และสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และ

การออกอากาศให้กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยขยายเครือข่ายการรับฟังให้สามารถรับฟังได้ทุกที่ ทุกเวลา ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศและเพิ่มช่องทางให้สามารถรับชมรายการโทรทัศน์ได้ทั้งระบบ Ku - Band , C - Band และทางอินเทอร์เน็ต พร้อมที่จะรองรับการพัฒนาเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสาธารณะ (Free ETV)

3.4 พัฒนาระบบการให้บริการสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้ได้หลายช่องทางทั้งทางอินเทอร์เน็ต

และรูปแบบอื่น ๆ เช่น Application บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ Tablet, DVD, CD, VCD และ MP3 เป็นต้น

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกใช้บริการเพื่อเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ได้ตามความต้องการ

3.5 สำรวจ วิจัย ติดตามประเมินผลด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และนำผลมาใช้ในการพัฒนางานให้มีความถูกต้อง ทันสมัยและสามารถส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนได้อย่างแท้จริง

4. ด้านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากราชวงศ์

4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากราชวงศ์

4.2 จัดทำฐานข้อมูลโครงการและกิจกรรมของ กศน. ที่สนองงานโครงการอันเนื่องมาจาก

พระราชดำริ หรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากราชวงศ์ ที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผน การติดตามประเมินผลและการพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.3 ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

4.4 พัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง ให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษา

นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.5 จัดและส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนบนพื้นที่สูง

ถิ่นทุรกันดาร และพื้นที่ชายขอบ

5. ด้านการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และพื้นที่บริเวณชายแดน

5.1 พัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้

1) จัดและพัฒนาหลักสูตร และกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ที่ตอบสนองปัญหาและ

ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งอัตลักษณ์และความเป็นพหุวัฒนธรรมของพื้นที่

2) พัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง

เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริง

3) ให้หน่วยงานและสถานศึกษาจัดให้มีมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยแก่บุคลากรและ

นักศึกษา กศน. ตลอดจนผู้มาใช้บริการอย่างทั่วถึง

5.2 พัฒนาการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

1) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนการศึกษาตามยุทธศาสตร์และ

บริบทของแต่ละจังหวัดในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

2) จัดทำหลักสูตรการศึกษาตามบริบทของพื้นที่ โดยเน้นสาขาที่เป็นความต้องการของตลาด ให้เกิด

การพัฒนาอาชีพได้ตรงตามความต้องการของพื้นที่

5.3 จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงชายแดนของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน (ศฝช.)

1) พัฒนาศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน ให้เป็นศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

ต้นแบบด้านเกษตรกรรม เป็นศูนย์สาธิตการประกอบอาชีพ ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการจัดกิจกรรมตามแนว

พระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับประชาชนตามแนวชายแดนด้วยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย

2) มุ่งจัดและพัฒนาการศึกษาอาชีพ โดยใช้วิธีการหลากหลาย ใช้รูปแบบเชิงรุกเพื่อการเข้าถึง

กลุ่มเป้าหมาย เช่น การจัดมหกรรมอาชีพ การประสานความร่วมมือกับเครือข่าย การจัดอบรมแกนนำด้านอาชีพที่เน้นเรื่องเกษตรธรรมชาติที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนชายแดน ให้แก่ประชาชนตามแนวชายแดน

6. ด้านบุคลากร ระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

6.1 การพัฒนาบุคลากร

1) พัฒนาบุคลากรทุกระดับ ทุกประเภทให้มีสมรรถนะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนและระหว่างการดำรงตำแหน่งเพื่อให้มีเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานและบริหารจัดการการดำเนินงานของหน่วยงานและสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดพัฒนาตนเองเพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือเลื่อนวิทยฐานะโดยเน้นการประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์

2) พัฒนาศึกษานิเทศก์ กศน. ให้มีสมรรถนะที่จำเป็นครบถ้วน มีความเป็นมืออาชีพ สามารถปฏิบัติการนิเทศได้อย่างมีศักยภาพ เพื่อร่วมยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในสถานศึกษา กศน.

3) พัฒนาหัวหน้า กศน. ตำบล/แขวง ให้มีสมรรถนะสูงขึ้นในการบริหารจัดการ กศน. ตำบล/แขวง และการปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการเป็นนักจัดการความรู้และผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

4) พัฒนาครู กศน. และผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถจัดรูปแบบการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพโดยส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถในการจัดท าแผนการสอน การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลและการวิจัยเบื้องต้น

5) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ กศน. ตำบล/แขวง เพื่อการมีส่วนร่วมในการบริหารการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของ กศน. ตำบล/แขวง อย่างมีประสิทธิภาพ

6) พัฒนาศักยภาพบุคลากร ที่รับผิดชอบการบริการการศึกษาและการเรียนรู้ ให้มีความรู้ความสามารถและมีความเป็นมืออาชีพในการจัดบริการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน

7) พัฒนาอาสาสมัคร กศน. ให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้จัด ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

8) เสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคลากร รวมทั้งภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศในทุกระดับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน โดยจัดให้มีกิจกรรมการพัฒนาสมรรถนะ และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร และภาคีเครือข่ายในรูปแบบที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง

6.2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอัตรากำลัง

1) จัดทำแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและดำเนินการปรับปรุงสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ ให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษา

2) บริหารอัตรากำลังที่มีอยู่ทั้งในส่วนที่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน

3) แสวงหาภาคีเครือข่ายในท้องถิ่นเพื่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งระดมทรัพยากรเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความพร้อมสำหรับดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน

6.3 การพัฒนาระบบบริหารจัดการ

1) เร่งผลักดันให้มีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิต

2) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณ โดยพัฒนาระบบการกำกับ ควบคุม และเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

3) พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศอย่าง

เป็นระบบเพื่อให้หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหาร การวางแผนการปฏิบัติงาน การติดตามประเมินผล และการนำผลมาพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง(PDCA) รวมทั้งจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ

4) พัฒนาระบบฐานข้อมูลรวมของนักศึกษา กศน. ให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และ

เชื่อมโยงกันทั่วประเทศ สามารถสืบค้นและสอบทานได้ทันความต้องการเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

5) ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ในหน่วยงานและสถานศึกษาทุกระดับ รวมทั้งการศึกษาวิจัยเพื่อสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและชุมชนพร้อมทั้งพัฒนาขีดความสามารถเชิงการแข่งขันของหน่วยงานและสถานศึกษา

6) สร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

6.4 การกำกับ นิเทศติดตาม ประเมิน และรายงานผล

1) สร้างกลไกการกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้เชื่อมโยงกับหน่วยงาน สถานศึกษา และภาคีเครือข่ายทั้งระบบ

2) ให้หน่วยงานและสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องทุกระดับ พัฒนาระบบกลไกการกำกับ ติดตามและ

รายงานผลการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ให้สามารถตอบสนองการดำเนินงานตามนโยบายในแต่ละเรื่อง

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสื่ออื่น ๆ ที่เหมาะสม เพื่อการกำกับนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลอย่างมีประสิทธิภาพ

4) พัฒนากลไกการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ

ประจำปีของหน่วยงาน สถานศึกษา เพื่อการรายงานผลตามตัวชี้วัดในคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี

ของสำนักงาน กศน. ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนด

5) ให้มีการเชื่อมโยงระบบการนิเทศในทุกระดับ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร ตั้งแต่

ส่วนกลาง ภูมิภาค กลุ่มจังหวัด จังหวัด อำเภอ/เขต และตำบล/แขวง เพื่อความเป็นเอกภาพในการใช้ข้อมูล และการพัฒนางานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย



เข้าชม : 10014
 
 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบลกระตีบ
 141 หมู่ 2 ตำบลกระตีบ  อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม  73180  โทรศัพท์  0818579849
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี