"การศึกษาขั้นพื้นฐาน"
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑. นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ
๑.๑ จัดและสนับสนุนการศึกษานอกระบบตั้งแต่ประถมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑) พัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำสาระการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวม และสร้างเสริมสมรรถนะการประกอบอาชีพทีี่สามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคง
๒) ดำเนินการให้ผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษขั้นพื้นฐานได้รับการสนับสนุนค่าจัดซื้อตำราเรียน ค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และค่าเล่าเรียนอย่างทั่วถึง เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
๓) จัดหาตำแราเรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพตามที่สำนักงาน กศน. ให้การรับรองคุณภาพให้ทันต่อความต้องการของผู้เรียนพร้อมทั้งจัดให้มีระบบหมุนเวียนตำราเรียนเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้บริการตำราเรียนอย่างเท่าเทียมกัน
๔) ขยายการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพให้กับประชากรวัยแรงงานที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับและไม่อยู่ในระบบโรงเรียน โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ ด้วยวิธีเรียนที่หลากหลาย
๕) ส่งเสริม สนับสนุน และเร่งรัด ให้กศน. อำเภอทุกแห่งดำเนินการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งผลการเรียอย่างเป็นระบบได้มาตรฐาน สอดคล้องกับหลักสูตร เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง
๖) พัฒนาระบบฐานข้อมูลรวมของนักศึกษา กศน. ให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศ สามารถสืบค้นและสอบทานได้ทันความต้องการเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
๗) จัดให้มีวิธีการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถพัฒนาทักษะเกี่ยวกับสาระและวิธีการเรียนรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๘) พัฒนาระบบการประเมิณเพื่อเทียบระดับการศึกษาที่มีความโปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กำหนด และสามรถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๒ การส่งเสริมการเรียนรู้
๑) พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลางให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเป็นระบบเดียวกัน
๒) พัฒนาหลักสูตร สื่อ แบบเรียน เครื่องมือวัดผลและเครื่องมือการดำเนินงานการส่งเสริมการรู้หนังสือที่สอดคล้องกับสภาพของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
๓) พัฒนาครู กศน. และภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัด ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้ไม้รู้หนังสืออย่างมีประสิทธิภาพ
๔) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคงสภาพการรรู้หนังสือ การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือ และการพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้อยางต่อเนื่องตลอดชีวิตของประชาชน
๕) พัฒนาระบบการประเมินผลระดับการรู้หนังสือให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและระดับสากล
เข้าชม : 1199 |