เนื้อหา : สาระน่ารู้
หมวดหมู่ : ความรู้เกี่ยวกับ IT
หัวข้อเรื่อง : ศกร.ตำบลไร่ขิง หว่งใย เตือนภัยไข้หวัดใหญ่

ศุกร์ ที่ 13 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2566

คะแนน vote : 439  

 https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/influenza#emergency-symptoms

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ รวมถึงจมูก ลําคอ และปอด โดยเป็นคนละสายพันธุ์กับไวรัสซึ่งทำให้เกิดโรคไวรัสลงกระเพาะอาหาร อันเป็นสาเหตุของอาการท้องเสียและอาเจียน

โดยปกติแล้วผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สามารถหายได้เอง แต่ในบางครั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ถึงแก่ชีวิต
 

อาการของไข้หวัดใหญ่

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ดูเผิน ๆ จะเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่อาการมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดาซึ่งจะค่อย ๆ แสดงอาการ

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

  • มีไข้ หนาวสั่น และเหงื่อออก
  • ปวดศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • เจ็บคอและไอแห้ง
  • ปวดตา
  • มีน้ำมูก จาม
  • หายใจถี่
  • ท้องเสียและอาเจียนซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก

    ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

    ส่วนใหญ่ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สามารถพักรักษาตัวที่บ้านได้ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน ควรไปพบแพทย์โดยทันที การใช้ยาต้านไวรัสช่วยให้หายป่วยได้เร็วขึ้นและป้องกันอาการไม่ให้ทรุดหนัก

    หากผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที

    อาการไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่ ที่ควรรีบพบแพทย์

    • เจ็บหน้าอก หายใจถี่
    • เวียนศีรษะ
    • ชัก
    • กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
    • โรคประจำตัวกำเริบหรือทรุดตัว

    อาการไข้หวัดใหญ่ในเด็ก ที่ควรรีบพบแพทย์

    • เจ็บหน้าอก หายใจลําบาก
    • ภาวะขาดน้ำ
    • ปากเขียว
    • ชัก
    • ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
    • โรคประจำตัวกำเริบหรือทรุดตัว

      สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่

      คนทั่วไปอาจสัมผัสเชื้อไวรัสจากละอองฝอยในอากาศ เมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูดคุย คนทั่วไปอาจสูดรับเชื้อโรคทางลมหายใจหรือสัมผัสเชื้อที่ติดอยู่บนพื้นผิวของวัตถุ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือคีย์บอร์ด

      ผู้ป่วยจะสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนแสดงอาการ และยังสามารถแพร่เชื้อได้ต่อไปอีก 5 วันหลังแสดงอาการ ผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องจะสามารถแพร่เชื้อได้นานกว่า

      มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา หากได้รับวัคซีนหรือป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่มาก่อน ร่างกายมักมีภูมิต้านทานโรค หากเชื้อไวรัสตัวใหม่นั้นมีความใกล้เคียงกับเชื้อตัวเก่าที่เคยเป็น ร่างกายจะมีแอนติบอดีป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไประดับแอนติบอดีในร่างกายจะลดลง

      หากสัมผัสกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ร่างกายไม่เคยรู้จักมาก่อน แอนติบอดีที่มีอยู่เดิมจะไม่สามารถสู้กับและป้องกันการติดเชื้อได้
       

      ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดโรคไข้หวัดใหญ่

      • เด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี และผู้ใหญ่ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
      • อาศัยหรือทำงานในที่แออัด มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก
      • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากการรักษาโรคมะเร็ง โรคมะเร็งเม็ดเลือด โรคเอชไอวี / เอดส์ การปลูกถ่ายอวัยวะ การใช้สเตียรอยด์หรือยากดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานาน
      • มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคตับ โรคเลือด โรคระบบประสาท กระบวนการทำงานทางชีวเคมีผิดปกติ ปัญหาระบบทางเดินหายใจ
      • การใช้แอสไพรินในระยะยาวในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี อาจทำให้เป็นโรคเรย์ (Reye’s disease) เป็นโรคที่มี ความผิดปกติของตับร่วมกับสมอง ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
      • หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะระหว่างไตรมาสที่ 2 หรือ 3
      • โรคอ้วน


      ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่

      คนหนุ่มสาวซึ่งมีสุขภาพดีมักหายจากไข้หวัดใหญ่ได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้

      • ภาวะหายใจลําบากเฉียบพลัน
      • โรคหอบหืดกำเริบ
      • หลอดลมอักเสบ
      • หูอักเสบ
      • โรคหัวใจ
      • โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ ซึ่งอันตรายมากในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

        การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

        การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถลดความรุนแรงของอาการและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาการของโรคไข้หวัดใหญ่และ COVID-19 มีความคล้ายคลึงกัน การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถลดและป้องกันความสับสนระหว่างโรคทั้งสองนี้ การรับวัคซีนทั้ง COVID-19 และไข้หวัดใหญ่ในเวลาเดียวกันนั้นทำได้ สําหรับผู้ที่มีอาการแพ้ไข่ขาวสามารถรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้
         

        การป้องกันการแพร่เชื้อไข้หวัดใหญ่

        เนื่องจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% สุขอนามัยที่ดีสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        • ล้างมือเป็นประจําด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
        • ไม่สัมผัสตา จมูก และปาก
        • เมื่อจะจามหรือไอ ควรจามหรือไอใส่ข้อศอกหรือกระดาษทิชชู่ และล้างมือทุกครั้ง
        • ทำความสะอาดโทรศัพท์หรือพื้นผิวของสิ่งของที่สัมผัสบ่อย
        • หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด โดยเฉพาะในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด
        • หลีกเลี่ยง ไม่ใกล้ชิดผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่

         

        การตรวจวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่

        แพทย์จะทำการตรวจร่างกายเพื่อหารอยโรคของโรคไข้หวัดใหญ่ และอาจทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมให้ช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด ผู้ป่วยสามารถติดเชื้อไข้หวัดใหญ่และ COVID-19 ได้พร้อมกัน และอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยทั้งสองโรค

        การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่

        การพักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดใหญ่ หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหรือการติดเชื้อร้ายแรง อาจต้องให้ยาต้านไวรัส

        การใช้ยาต้านไวรัสอาจมีผลข้างเคียงให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน การรับประทานยาพร้อมอาหารสามารถช่วยลดอาการดังกล่าวได้
         

        การดูแลตัวเองที่บ้าน

        • ดื่มน้ำมาก ๆ เช่น น้ำผลไม้ น้ำเปล่า หรือซุปอุ่น ๆ เพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ
        • พักผ่อนและนอนหลับเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ดีขึ้น
        • รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการไข้หวัดใหญ่ เช่น อาการปวดหัวและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไม่ควรใช้แอสไพรินในเด็กหรือวัยรุ่น เนื่องจากความเสี่ยงของโรคเรย์ (Reye’s disease)

        พักผ่อนอยู่บ้านจนกว่าจะหายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในครอบครัวและชุมชน งดพบปะผู้อื่นเมื่อป่วย ล้างมือบ่อย ๆ หากมีความจำเป็นต้องออกจากบ้านหรือไปโรงพยาบาลให้สวมหน้ากากอนามัยเสมอ


        บทความโดย

        พญ.ประภาพร พิมพ์พิไล
        อายุรกรรมทั่วไป



เข้าชม : 166


ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      ศกร.ตำบลไร่ขิง หว่งใย เตือนภัยไข้หวัดใหญ่ 13 / ต.ค. / 2566
      การทำเจลล้างมือใช้เอง 12 / ก.พ. / 2563
      การพัฒนา Koratsite 31 / ต.ค. / 2553
      มันสามารถเขียนทับไฟล์ที่ลึกกว่า root ได้อีกด้วย 20 / เม.ย. / 2551
      ตามล่าหาไฟล์ .dll ที่หายไป 3 / ก.พ. / 2551