การศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กศน.อำเภอสามพราน
เป็นการจัดการศึกษาให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความสามารถนำไปถือปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้ กศน.อำเภอแก่งกรจะน ได้มีการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นร่วมกับวิทยากรและชุมชน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การทำบัญชีครัวเรือน การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำเกษตรธรรมชาติ หรือเกษตรผสมผสาน การเลี้ยงกบ การเพาะเห็ดฟาง เห็ดภูฎาน การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น ทำให้ผู้รับบริการของ กศน.ได้นำความความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน มีความตระหนักถึงการใช้จ่ายอย่างพอประมาณ มีเหตุผลในการใช้จ่าย มีภูมิคุ้มกัน เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามัคคีในครอบครัว ชุมชน สามารถสร้างเป็นอาชีพได้ มีรายได้ ลดรายจ่าย มีความเป็นอยู่ดีขึ้น และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
หลักการ
1. ยึดกรอบความคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข เป็นสาระหลักในการดำเนินงาน
2. ใช้กระบวนการจัดการความรู้เป็นวิธีการในการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้
3. ใช้ชุมชนเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ ทั้งระดับตัวบุคคล และระดับชุมชน
4. ยึดแนวทางการทำงานโดยใช้การประสานเครือข่ายในพื้นที่
5. ให้ความสำคัญกับบทบาทของครู กศน. ในการเป็นผู้จัดการเรียนรู้ในชุมชนโดยเน้นเป็นการจัดกิจกรรมใหม่
6. บริหารโดยครู กศน.เป็นเจ้าภาพ ชุมชนเป็นเจ้าของ เครือข่ายเป็นเจ้ามือ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาและบุคลากร
สามารถนำปรัชญาไปประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กร บริหารการศึกษา และพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมของแต่ละพื้นที่สู่การดำรงชีวิตของผู้เรียน ตลอดจนถึงครอบครัวและชุมชน
2. เพื่อนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ กศน.
3. เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็ดชจพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันพระราชสมภพ 80 พรรษา
แนวทางการดำเนินงาน
การดำเนินงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน โดยกระบวนการ กศน มีแนวทางดังนี้
1. พัฒนาบุคลากร กศน.ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีเจตคติเกี่ยวกับการดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน และสามารถนำสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
2. พัฒนาสถานศึกษา องค์กรทุกระดับให้สามารถนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกิจกรรมการเรียนรู้ทุกหลักสูตร กศน. ทั้งหลักสูตรการศึกษาขั้นพ้นฐาน บูรณาการในการหลักสูตรวิชาชีพ ทักษะชีวิต
4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบการเรียนที่หลากหลาย เช่น เรียนรู้จากภูมิปัญญา ปราชญ์ ศึกษาตามโครงการพระราชดำริที่ให้มีการแลกเปลี่ยนเรีนรู้จนสามารถนำสู่การปฏิบัติในชีวิตประชาชน
เข้าชม : 592 |