[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 


เนื้อหา : สาระน่ารู้
หมวดหมู่ : ความรู้เกี่ยวกับ IT
หัวข้อเรื่อง : อาหารที่ควรเลี่ยง

ศุกร์ ที่ 28 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563

คะแนน vote : 187  

 

เมนูอาหารที่รับประทานร่วมกันหลาย ๆ คน โดยไม่ได้ใช้ช้อนกลาง อาจเสี่ยงแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนาได้โดยไม่ทันตั้งตัว

เมนูอาหารหลายอย่างในประเทศไทย อาจเสี่ยงแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนาได้ เพราะเมื่อไรก็ตามที่เป็นเมนูที่รับประทานด้วยกันหลาย ๆ คน โดยปราศจากการใช้ช้อนกลาง จะทำให้เชื้อไวรัสติดต่อจากคนสู่คนได้โดยง่ายผ่านน้ำลายที่ติดไปกับอุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร เช่น ตะเกียบ ช้อน ส้อม ซึ่ง

กินข้าวไม่ใช้ช้อนกลาง เสี่ยงหลายโรค

นอกจากไวรัสโคโรนาที่ควรระมัดระวังในช่วงนี้แล้ว ยังรวมไปถึงเชื้อไวรัสอื่น ๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ มือปากเท้าเปื่อย คางทูม เริม คอตีบ วัณโรค ไปจนถึงโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการดื่มน้ำจากแก้วเดียวกัน หลอดเดียวกัน ที่ไม่ควรทำอีกด้วย

เมนูอาหารควรเลี่ยง-งด ช่วงไวรัสโคโรนา

เมนูอาหารที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสจากผู้อื่น มักเป็นเมนูที่ไม่ค่อยมีการใช้ช้อนกลาง เช่น

  1. อาหารอีสานที่นั่งล้อมวงกินด้วยกัน เช่น ส้มตำ ลาบ น้ำตก ต้มแซ่บ แกงอ่อม แกงเห็ด ฯลฯ ที่มักใช้ช้อนของตัวเองตักอาหารเข้าปากโดยตรง การใช้มือปั้นข้าวเหนียวจิ้มน้ำในจานอาหารที่กินด้วยกัน ก็เสี่ยงแพร่เชื้อไวรัสจากมือ (ที่ไอหรือจาม หรือสัมผัสเชื้อไวรัสจากที่อื่นมาก่อน) ลงสู่อาหารได้
     
  2. สุกี้ยากี้ ชาบู หม้อไฟ ที่กินหม้อเดียวกันหลายคน ใช้ตะเกียบ ช้อนส้อมของตัวเองตักอาหารจากหม้อ และหากใช้ตะเกียบของตัวเองคีบอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ดิบ ผักดิบ ลงไปในหม้อ ต้มกินด้วยกัน ก็สามารถแพร่เชื้อไวรัสได้
     
  3. ปิ้งย่าง หมูกระทะ หากใช้ตะเกียบของตัวเองคีบอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ดิบในจานเดียวกัน แม้จะย่างเองกินเอง แต่ช่วงที่ใช้ตะเกียบตัวเองคีบของสดในจาน ผู้ติดเชื้อก็อาจจะแพร่เชื้อไวรัสให้คนอื่นที่อยู่ร่วมโต๊ะได้เช่นเดียวกัน
 


วิธีลดความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสจากการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น

  1. ใช้ “ช้อนกลาง” ทุกครั้งที่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น รวมถึงการรับประทานอาหารคนเดียว การใช้ช้อนกลางตักกับข้าวใส่จาน จะช่วยลดการปนเปื้อนของน้ำลายลงในอาหาร นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อไวรัสจากคนสู่คนแล้ว ยังช่วยลดระยะเวลาในการเก็บรักษาอาหารให้นานยิ่งขึ้นอีกด้วย
     
  2. ใช้ ที่คีบ ทัพพี ตะเกียบ เป็น “ตัวกลาง” ในการหยิบอาหารจากจานกลางเท่านั้น ไม่ใช้อุปกรณ์ เช่น ช้อน ส้อม ตะเกียบ ส่วนตัว ในการหยิบอาหารจากจานกลางเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรืออาหารสด อาหารดิบก็ตาม
     
  3. หากรู้ตัวไม่ตัวเองมีโรคประจำตัวที่ติดต่อทางน้ำลายได้ เช่น เป็นหวัด เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี ไม่ควรรับประทานอาหารที่ต้องทานร่วมกับคนอื่น (รับประทานอาหารแค่ในจานของตัวเอง แต่นั่งร่วมโต๊ะได้)
     
  4. ไม่ใช้ช้อน ส้อม ตะเกียบ และแก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น และไม่ให้คนอื่นใช้ร่วมกันกับเราด้วย
     
  5. ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง


เข้าชม : 817


ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      10 สถานที่เสี่ยงควรหลีกเลี่ยง ช่วง “โควิด-19” ระบาด 28 / ก.พ. / 2563
      อาหารที่ควรเลี่ยง 28 / ก.พ. / 2563
      ประวัติวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ Valentine\'s Day 13 / ก.พ. / 2563
      40 ข้อคิดของความรัก (ที่อยากให้อ่าน) 13 / ก.พ. / 2563
      เคล็ดลับออกกำลังกายอย่างไรเมื่อน้ำหนักตัวเยอะไม่ให้บาดเจ็บ 13 / ก.พ. / 2563


 
 
ศกร.ตำบลศาลายา
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้
อำเภอพุทธมณฑล 
สำนักงานส่งเสริมการเรียนรรู้จังหวัดนครปฐม 
กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ
วัดสุวรรณาราม เลขที่ 14 หมู่ 5 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม  73170  
โทรศัพท์ 088-5895125  
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี