เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : บทความทั่วไป
หัวข้อเรื่อง : ทอนซิลอักเสบ อาการ เจ็บคอ ที่ต้องระวัง !

ศุกร์ ที่ 23 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567

คะแนน vote : 9  

 

ต่อมทอนซิล

ต่อมทอนซิล ถือว่าเป็นหนึ่งในเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในลำคอทั้งสองข้าง มีหน้าที่ดักจับและกำจัดเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร และมีหน้าที่สำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

อาการต่อมทอนซิลอักเสบ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บคอ กลืนลำบาก กดเจ็บบริเวณคอตำแหน่งต่อมทอนซิล พบลักษณะต่อมทอนซิลบวมแดง อาจมีจุดขาว ๆ เหลือง ๆ คล้ายหนองกระจายทั่ว ๆ ปกคลุมอยู่ บางครั้งอาจมีอาการเจ็บร้าวไปที่หู อาจเกิดร่วมกับอาการ

  • ไข้สูงหนาวสั่นหรือไข้ต่ำ ขึ้นกับชนิดของเชื้อโรค
  • ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อาจมีตาแดง
  • คลำและกดเจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลืองด้านหน้าลำคอส่วนบนโตทั้งสองข้าง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> อาการแบบไหนเสี่ยงทอนซิลอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนของต่อมทอนซิลอักเสบ

ทอนซิลอักเสบ โดยปกติจะไม่มีอาการแทรกซ้อนแต่อาจเกิดขึ้นได้หากรับประทานยาปฏิชีวนะไม่ครบหรือไม่เข้ารับการรักษากับทางแพทย์ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนี้

  • โรคไตอักเสบเฉียบพลันจากเชื้อสเตรปโตคอคคัส
  • ข้ออักเสบหลังการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส
  • ไข้รูมาติก

ทอนซิลอักเสบ เสี่ยงมะเร็งต่อมทอนซิลหรือไม่

มะเร็งต่อมทอนซิลยังไม่มีสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างแน่ชัด แต่อาจจะมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

 

  • สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ติดเชื้อไวรัสเอชพีวีทางช่องปาก
  • วิธีการรักษา

    • ปรับพฤติกรรม หากผู้ป่วยมีอาการ เจ็บคอ เพียงเล็กน้อย ไม่มีไข้ ทางแพทย์จะรักษาตามอาการและผู้ป่วยสามารถหายเองได้โดยการพักผ่อนให้เพียงพอและดื่มน้ำมาก ๆ
    • ยาปฏิชีวนะ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไข้ร่วมกับอาการเจ็บคอ แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ
    • ผ่าตัดต่อมทอนซิล กรณีที่รักษาด้วยยาปฏิชีวนะไม่ได้ผล เกิดภาวะแทรกซ้อน เกิดภาวะต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง หรือมีความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งต่อมทอนซิล

    วิธีป้องกัน

    • ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
    • ไม่ใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่น เช่น ช้อน ส้อม แปรงสีฟัน แก้วน้ำ ใช้กระดาษทิชชูป้องปิดปากเวลาไอหรือจาม

    เมื่อผู้ป่วยมีอาการเจ็บคอร่วมกับมีไข้ อาจมีความเสี่ยงเป็นต่อมทอนซิลอักเสบควรเข้ารับการปรึกษาจากทางแพทย์เพื่อรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะให้อาการดีขึ้นและลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นตามในภายหลังได้

     

    ข้อมูลจาก

    อ. พญ.โยษิตา หมื่นแก้ว

    ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา

    คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

    มหาวิทยาลัยมหิดล



เข้าชม : 76


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      จอประสาทตาเสื่อม สูงวัยทำอย่างไร ? 23 / ก.พ. / 2567
      ทอนซิลอักเสบ อาการ เจ็บคอ ที่ต้องระวัง ! 23 / ก.พ. / 2567
      อาการเสี่ยง กรดไหลย้อน ! ที่ต้องรู้ 23 / ก.พ. / 2567
      อาหารเช้ามื้อสำคัญ ไม่ควรมองข้าม 27 / พ.ย. / 2566
      อาหารบำบัดโรคหัวใจ 27 / พ.ย. / 2566