เดือนกว่า ที่ประเทศไทยเริ่มลดใช้ถุงพลาสติกอย่างจริงจัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นมา โดยข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่าปริมาณการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วในประเทศไทยมีจำนวนมหาศาลถึง 45,000 ล้านใบต่อปี เมื่อดีเดย์มาตรการดังกล่าวคาดว่าส่งผลให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดลดลง 225,000 ตันต่อปี หน่วยงานภาครัฐประหยัดงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอยได้ 340 ล้านบาทต่อปี ประหยัดพื้นที่รองรับและกำจัดขยะมูลฝอยในการฝังกลบได้ประมาณ 616 ไร่
ถือเป็นที่น่าชื่นชมที่เราเห็นหลายคนเริ่มตระหนักถึงปัญหาขยะ เราจะเห็นแฟชั่นถุงผ้าหลากหลายแบบ รวมถึงการประยุกต์ใช้ภาชนะอื่นๆ ไปใส่ของแทนถุงพลาสติก แต่จะดีกว่าไหม หากเราสามารถจัดการปัญหาขยะได้ตั้งแต่ต้นทางไปยังปลายทาง และสามารถสร้างมูลค่าของสิ่งของที่ใช้แล้ว
‘ขยะมีบุญ’ หนึ่งในโครงการที่เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาชุมชน ของเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ภายใต้โมเดลมหาวิชชาลัยปริกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ สสส.เป็นหน่วยหนุนเสริมและสนับสนุนการสร้างความร่วมมือของคนในชุมชน ทำให้เป็นพื้นที่น่าอยู่
โครงการ ‘ขยะมีบุญ’ มัสยิดดาหรนอาหมัน เทศบาลตำบลปริก หมู่ที่ 4 อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทำให้มีการนำหลักการเรื่องความสะอาดสู่การปฏิบัติจริงเป็นรูปธรรม ให้พี่น้องในชุมชนได้เกิดการเรียนรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกขยะ ให้มัสยิดเป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมต่างๆของชุมชน และสร้างความรักและความสัมพันธ์อันดีของพี่น้องในชุมชน
การจัดการขยะ ในส่วนของมาตรการของภาครัฐเพียงอย่างเดียวบางทีอาจจะได้ผลไม่มากนัก ทางมัสยิดจึงนำหลักธรรมเรื่องบุญเข้ามาเชื่อมโยง โดยนายสุรินทร์ บินล่าเต๊ะ หรือ ครูหมาน เลขานุการมัสยิดดาหรนอาหมัน เล่าว่า พี่น้องในชุมชนนำขยะมาถือเป็นการบริจาคให้แก่มัสยิด มัสยิดนำเงินส่วนนี้ไปใช้จ่ายในภารกิจต่างๆ พี่น้องได้รับบุญในส่วนนั้น พี่น้องหลายคนบอกว่าขยะราคา 50-100 บาท มันก็ไม่ใช่เงินที่มากมายอะไร แต่ถ้าเกิดว่า นำมารวมกันที่มัสยิด หลายๆ คน เกิดเป็นหลักพันขึ้นมา ก็สามารถนำไปใช้อะไรได้เยอะ
ครูหมาน เล่าต่อว่า ภารกิจหนึ่งของมัสยิดคือ การส่งเสริมเรื่องการศึกษา เพราะมัสยิดมีแนวคิดว่าการที่เราจะทำโครงการต่างๆ ผลักดันให้ชุมชนพัฒนา เราต้องเริ่มจากการศึกษา ดังนั้น เราจึงอยากปลูกฝังในเรื่องของจิตอาสาในการที่จะช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือชุมชน โดยผ่านกิจกรรมของเราผ่านการช่วยคัดแยกขยะ เป็นการบอกต่อภารกิจแห่งความดี ชักชวนเพื่อนๆในชุมชน มาบริจาคและคัดแยกขยะ โดยจัดกิจกรรม 1 เดือน / 1 ครั้ง โดยในบางครั้งมีมูลค่าขยะกว่า 8,000 บาท
“ จริงๆ ขยะเหล่านี้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่กับผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว ตราบใดที่ทุกคนยังต้องบริโภคสิ่งเหล่านี้อยู่ เมื่อก่อนอาจต้องทิ้งรวมกัน ในถังขยะของเทศบาล และไปยังบ่อกำจัดขยะเป็นภาระให้กับพนักงานเทศบาล ตรงนี้คือการให้ชุมชนรู้จักการคัดแยกขยะ สิ่งไหนควรทิ้ง สิ่งไหนไม่ควรทิ้ง ในขณะเดียวกันก็ได้บุญด้วย “ ครูหมาน กล่าว
ขยะปัจจุบันมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่ ถังขยะเปียก/ย่อยสลายง่าย ถังขยะทั่วไป ถังขยะรีไซเคิล และถังขยะอันตราย
1.ถังขยะเปียก/ย่อยสลายง่าย โดยคัดแยกเศษอาหารออกจากขยะที่เป็นเศษกิ่งไม้ใบไม้ ซึ่งสามารถนำไปทำปุ๋ยหมักได้หากขยะมีลักษณะแหลมมาก อย่างเช่น ไม้ลูกชิ้น ให้หักก่อนทิ้ง จัดหาภาชนะที่มีฝาปิด เพื่อไม่ให้สัตว์นำเชื้อโรคเข้าไปแพร่เชื้อ
2.ขยะทั่วไป หากไม่แยก ขยะทั่วไปส่วนใหญ่จะถูกนำไปฝังกลบเพราะไม่คุ้มค่าที่จะนำไปใช้ซ้ำ หรือรีไซเคิลได้ ดังนั้น เมื่อจะแยกก็ต้องแยกออกมาอย่างชัดเจน ห้ามทิ้งเศษอาหาร ขยะรีไซเคิล และขยะจากสวนลงไปรวมกับขยะทั่วไป
3.ถังขยะรีไซเคิล โดยแยกชนิด สี ประเภทของขยะรีไซเคิลออกจากกันเพื่อสะดวกในการใช้งานหรือขยาย ขยะรีไซเคิลบางชนิดทำให้แบนได้ เพื่อประหยัดเนื้อที่และเก็บได้สะดวก แยกขยะรีไซเคิลที่แตก และสภาพดีออกจากกัน
4.ถังขยะอันตราย หากไม่แยก อาจทำให้เกิดอันตรายได้ โดยแยกขยะอันตรายแต่ละประเภทออกจากกัน ไม่มัดรวมและควรสวมถุงมือเพื่อป้องกันสารพิษ ระวังไม่ให้แตกหักเพราะสารเคมีอาจเข้าสู่ร่างกาย แยกขยะใส่ถุงและไว้ให้ห่างจากห้องครัว พื้นที่ที่มีเด็ก ขยะไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กมองไม่เห็น ควรกรองด้วยถุงกรองให้เศษต่าง
เว็บสล็อต
เข้าชม : 842
|