หลักสูตรคู่ขนาน (ม.ปลายและสายอาชีพ)
เอกสาร กศน. การจัดการศึกษาเรียนร่วม กับอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา)
จากนโยบายที่รัฐบาลให้มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนที่เรียนสายสามัญมีความรู้สายอาชีพ และกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ได้เห็นชอบให้กศน.ร่วม ดำเนินการเพื่อสร้างโอกาสให้แก่เยาวชนและจังหวัดที่อยู่ในแนวการพัฒนาด้านโลจิสติกส์(ระบบจัดการขนส่งสินค้า ข้อมูล ทรัพยากรและบริการต่าง ๆ) หรือจังหวัดที่มียุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจโดยร่วมมือจัดการเรียนการสอนระหว่าง กศน. และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมกันจัดการเรียนการสอนคู่ขนาน (หลักสูตรคู่ขนาน ปวช. + ม. 6) ในพื้นที่ขึ้น เริ่มตั้งแต่จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา แผนการเรียนตลอด 6 ภาคเรียน โดย กศน.จัดทำแผนการจัดการเรียนการสอนวิชาสามัญ ซึ่งเป็นวิชาบังคับ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ส่วน สอศ. จัดการเรียนการสอนหมวดวิชาทักษะวิชาชีพ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2556 และให้มีการเทียบโอนผลการ เรียนระหว่างกัน
คุณสมบัติผู้สมัครเรียน
1. ต้องมีอายุ ปี ขึ้นไป
2. ต้องจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3)
3. ต้องสมัครเข้าเรียนหลักสูตร กศน. สายสามัญ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 6) ในหลักสูตรคู่ขนาน ม.6 + ปวช.
สาขาที่เปิดสอน
1. การโรงแรมหรือการท่องเที่ยว
2. เกษตรกรร
3. เกษตรทั่วไป
4. เกษตรอินทรีย์
5. ช่างยนต์
6. ช่างเชื่อมโลหะ
7. คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
8. การตลาด
9. ช่างซ่อมแอร์
10. ช่างอิเล็กทรอนิกส์
11. ช่างก่อสร้าง
12. อุตสาหกรรมการต่อเรือ
จังหวัดที่นำร่องในการจัดหลักสูตร
1. จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ (053) 711-944
2. จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ (053) 121-177
3. จังหวัดตาก โทรศัพท์ (055) 511-088
4. จังหวัดพิษณุโลก โทรศัพท์ (055) 322-677
5. จังหวัดเพชรบูรณ์ โทรศัพท์ (056) 721-532
6. จังหวัดระนอง โทรศัพท์ (077) 821-299
7. จังหวัดสงขลา โทรศัพท์ (074) 312-596, 312-822, 311-046
8. จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ (077) 284-998
9. จังหวัดกาฬสินธุ์ โทรศัพท์ (043) 812-982
10. กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ (02) 866-2830-3
11. จังหวัดกาญจนบุรี โทรศัพท์ (034) 514-429
12. จังหวัดตราด โทรศัพท์ (039) 518-091
13. จังหวัดระยอง โทรศัพท์ (038) 613-317
14. จังหวัดอุบลราชธานี โทรศัพท์ (045) 255-001
15. จังหวัดบุรีรัมย์ โทรศัพท์ (044) 611-689
16. จังหวัดขอนแก่น โทรศัพท์ (043) 224-973
17. จังหวัดมุกดาหาร โทรศัพท์ (042) 611-551
18. จังหวัดสกลนคร โทรศัพท์ (042) 711-629
19. จังหวัดหนองคาย โทรศัพท์ (042) 412-000
20. จังหวัดนครศรีธรรมราช โทรศัพท์ (075) 378-507-9
21. จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ (044) 251-039, 243-350
22. จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ (02) 384-4823, 384-5648-9
(ในส่วนของสาขาที่จังหวัดนำร่องเปิดสอน และรายละเอียดอื่น ๆ ที่ต้องการทราบ ให้ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่จังหวัดนำร่องนั้น ๆ ตามเบอร์โทรดังกล่าวข้างต้น)
ระยะเวลาในการเรียนการสอน
เรียน 6 ภาคเรียน (3 ปี)
ช่วงเวลาในการเปิดรับสมัคร
วิธีเรียนในการจัดการเรียนการสอน
– กศน. จะจัดการเรียนการสอนวิชาสามัญ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
– สอศ. จะจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาชีพ ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2556
วุฒิการศึกษาที่ได้รับ
– วุฒิการศึกษาระดับ ม.ปลาย (ม. 6) จาก กศน.
– ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จาก สอศ.